ภาษาไทย ป.๒
phatchuda tapayom

ภาษาไทย ป.๒

        ศึกษาและฝึกอ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำพื้นฐาน คำที่ใช้เรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่าย  อ่านจับใจความจากสื่อต่าง  แล้วสามารถ ตั้งคำถาม ตอบคำถาม ระบุใจความสำคัญ และรายละเอียดแสดงความคิดเห็น และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน อ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอ และนำเสนอเรื่องที่อ่าน อ่านข้อเขียนเชิงอธิบายและปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำและมีมารยาทในการอ่าน คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย เขียนเรื่องสั้น  เกี่ยวกับประสบการณ์และเรื่องสั้น  ตามจินตนาการ และมีมารยาทในการเขียน ฟังคำแนะนำ คำสั่งที่ซับซ้อน และปฏิบัติตาม จับใจความจากเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง โดยเล่าเรื่อง บอกสาระสำคัญ

       ตั้งคำถาม และตอบคำถาม พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟัง และดู พูดแนะนำตนเองขอความช่วยเหลือ กล่าวคำขอบคุณ กล่าวคำขอโทษ พูดขอร้องในโอกาสต่าง  เล่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน และมีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย เขียนสะกดคำ และบอกความหมายของคำ แต่งประโยค และเรียบเรียงประโยคเป็นข้อความสั้น  ได้ตรงตามเจตนาของการสื่อสาร บอกลักษณะของคำคล้องจอง และเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานภาษาถิ่นได้เหมาะสม

       กับกาลเทศะและบุคคล ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรอง สำหรับเด็กเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น และท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

        กิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนฝึกทักษะการอ่านและการเขียน อ่านเรื่องสั้น  แข่งขันเขียนคำ รวมทั้งสอดแทรกการฝึกทักษะอื่นควบคู่กันไป ซึ่งกิจกรรมจะอยู่ในลักษณะของบทบาทสมมุติ เกม ร้องเพลงทายปริศนา การอภิปราย การระดมสมอง และการวาดภาพสื่อจินตนาการ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักภาษา เกิดทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีความชื่นชม เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทยและภูมิใจในภาษาประจำชาติ

รหัสตัวชี้วัด

            ท .    /. ๒/. ๒/. ๒//. ๒/. ๒/. ๒/

            ท .   . ๒/. ๒/. ๒/. ๒/

            ท .    . ๒//. ๒/. ๒/. ๒/. ๒/. ๒/

            ท .    . ๒//. ๒/. ๒/. ๒/

            ท .    . ๒/. ๒/. ๒/

            รวมทั้งหมด  ๒๗  ตัวชี้วัด


ภาษาไทย ม.3
aroonrat pangjun

ภาษาไทย ม.3

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ภาษาไทย  ท23101                                                             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                               1.5 หน่วยกิต เวลา 60ชั่วโมง

                                                                  

       ฝึกทักษะการอ่าน การเขียน  การฟัง การดูและการพูด การวิเคราะห์และประเมินค่าวรรณคดีและวรรณกรรมโดยศึกษาเกี่ยวกับการอ่านออกเสียง การอ่านจับใจความ การอ่านตามความสนใจ ฝึกทักษะการคัดลายมือ การเขียนข้อความตามสถานการณ์และโอกาสต่างๆ  เขียนอัตชีวประวัติหรือชีวประวัติ เขียนย่อความ การเขียนจดหมายกิจธุระ เขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็น  และโต้แย้ง เขียนวิเคราะห์วิจารณ์ และแสดงความรู้ความคิดเห็น หรือโต้แย้งจากสื่อต่างๆ กรอกแบบสมัครงาน  เขียนรายงาน ฝึกทักษะการพูดแสดงความคิดเห็นและการประเมินเรื่องจากการฟังและการดู พูดวิเคราะห์วิจารณ์จากเรื่องที่ฟังและดู พูดรายงานการศึกษาค้นคว้า  พูดในโอกาสต่างๆ พูดโน้มน้าว และศึกษาเกี่ยวกับคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย โครงสร้างประโยคซับซ้อน ระดับภาษา คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ คำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ การแต่งบทร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพวิเคราะห์วิถีไทย ประเมินค่า ความรู้และข้อคิดจากวรรณคดี วรรณกรรมบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ พระบรมราโชวาท อิศรญาณภาษิต บทพากย์เอราวัณ ท่องจำบทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

       โดยใช้กระบวนการอ่านเพื่อสร้างความรู้ความคิดนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต กระบวนการเขียนเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการฟัง การดู และการพูด สามารถเลือกฟังและดู และพูดแสดงความรู้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา พลังภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมอย่างเห็นคุณค่านำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  รักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ และมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด

 

ตัวชี้วัด 

ท 1.1  ม.3/1  ม.3/2  ม.3/3  ม.3/4  ม.3/5  ม.3/6  ม.3/7  ม.3/8  ม.3/9   ม.3/10

ท 2.1  ม.3/1  ม.3/2  ม.3/3  ม.3/4  ม.3/5  ม.3/6  ม.3/7  ม.3/8  ม.3/9   ม.3/10

ท 3.1  ม.3/1  ม.3/2  ม.3/3  ม.3/4  ม.3/5  ม.3/6 

ท 4.1  ม.3/1  ม.3/2  ม.3/3  ม.3/4  ม.3/5  ม.3/6 

ท 5.1  ม.3/1  ม.3/2  ม.3/3  ม.3/4           

                  

รวม  36  ตัวชี้วัด

 

 

 


ภาษาไทย ป.๑
phatchuda tapayom

ภาษาไทย ป.๑

         ฝึกอ่านออกเสียงคำ  คำคล้องจอง  และข้อความสั้น ๆ  บอกความหมายของคำและข้อความ   ตอบคำถาม  เล่าเรื่องย่อ  คาดคะเนเหตุการณ์  เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอ  นำเสนอเรื่องที่อ่าน  บอกความหมายของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน  มีมารยาทในการอ่าน   ฝึกคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด  เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ  มีมารยาทการเขียนฝึกทักษะในการฟัง  ฟังคำแนะนำ  คำสั่งง่ายๆและปฏิบัติตาม  ตอบคำถาม  เล่าเรื่อง  พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู  พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์  เน้นมารยาทในการฟัง  การดูและการพูด

        ฝึกทักษะการเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  และเลขไทย  เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ  เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่ายๆ  ต่อคำคล้องจองง่ายๆ

        บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก  ฝึกท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ

       โดยใช้กระบวนการอ่าน  กระบวนการเขียน  กระบวนการแสวงหาความรู้  กระบวนการกลุ่ม  กระบวนการคิด  การฝึกปฏิบัติ  อธิบาย  บันทึก  การตั้งคำถาม  ตอบคำถาม  ใช้ทักษะการฟัง  การดูและ       การพูด  พูดแสดงความคิดเห็น  กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สื่อสารได้ถูกต้อง  รักการเรียนภาษาไทย  เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ภาษาไทย  และตัวเลขไทย  สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

ตัวชี้วัด                  ท ๑.๑  ป.๑/๑  ป.๑/๒  ป.๑/๓  ป.๑/๔  ป.๑/๕  ป.๑/๖  ป.๑/๗  ป.๑/๘

                          ท ๒.๑  ป.๑/๑  ป.๑/๒  ป.๑/๓

                          ท ๓.๑  ป.๑/๑  ป.๑/๒  ป.๑/๓ ป.๑/๔  ป.๑/๕

                          ท ๔.๑  ป.๑/๑  ป.๑/๒  ป.๑/๓ ป.๑/๔

                          ท ๕.๑  ป.๑/๑  ป.๑/๒  (รวม  ๒๒  ตัวชี้วัด)


ภาษาไทย ป.4
natchawadee kanthamalee

ภาษาไทย ป.4

          ศึกษา เรียนรู้ การอ่านออกเสียงและอธิบายความหมายของบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ การจับใจความจากสื่อต่าง ๆ การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น คาดคะเนเหตุการณ์ การสรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน การอ่านหนังสือตามความสนใจ หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน

          ศึกษา เรียนรู้ การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย การเขียนสื่อสาร การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน การเขียนย่อความจากเรื่องสั้น ๆ การเขียนจดหมายถึงเพื่อนและบิดามารดา การเขียนบันทึกและเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า การเขียนเรื่องตามจินตนาการ

          ศึกษา เรียนรู้ การจำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู การจับใจความและพูดแสดงความรู้ความคิดเห็นในเรื่องที่ฟังและดูจากสื่อต่าง ๆ การรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดูและการสนทนา

          ศึกษา เรียนรู้ การสะกดคำและบอกความหมายของคำในแม่ ก กา มาตราตัวสะกด การผันอักษร คำเป็นคำตาย คำพ้อง ความหมายของสำนวนที่เป็นสุภาษิตและคำพังเพย การระบุ  ชนิดของคำนาม        คำสรรพสนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ หน้าที่ของคำในประโยค การใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ      การแต่งประโยค การแต่งกลอนสี่และคำขวัญ การเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น

          ศึกษา เรียนรู้ การระบุข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม การร้องเพลงพื้นบ้าน การท่องจำบทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

          โดยใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน การฟัง การดูและการพูดอย่างมีวิจารณญาณ  และสร้างสรรค์ บอก สรุป ระบุ อธิบาย เขียน สะกดคำ แจกลูก แต่งประโยค แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ เปรียบเทียบ ศึกษา เรียนรู้ปฏิบัติและท่องจำ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน การฟัง การดูและการพูด หลักการใช้ภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม นำความรู้ ข้อคิดจากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน

          มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดูและการพูด มีนิสัยรักการอ่านเหมาะสมกับระดับชั้น

         


ภาษาไทย ม.1
aroonrat pangjun

ภาษาไทย ม.1

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาภาษาไทย  ท๒11๐๑                                                              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                               1.5 หน่วยกิต  เวลา 60 ชั่วโมง

 อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน  จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน  ระบุเหตุและผล และข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน  ระบุและอธิบายคำเปรียบเทียบ และคำที่มีหลายความหมายในบริบทต่างๆ จากการอ่าน  ตีความคำยากในเอกสารวิชาการโดยพิจารณาจากบริบท  ระบุข้อสังเกตและความสมเหตุสมผลของงานเขียนประเภทชักจูง โน้มน้าวใจ  ปฏิบัติตามคู่มือแนะนำวิธีการใช้งานของเครื่องมือหรือเครื่องใช้ในระดับที่ยากขึ้น  วิเคราะห์คุณค่าที่ได้รับจากการอ่านงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต  และมีมารยาทในการอ่าน

เขียนคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด  เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้องชัดเจน เหมาะสม                  และสละสลวย    เขียนบรรยายประสบการณ์โดยระบุสาระสำคัญและรายละเอียดสนับสนุน  เขียนเรียงความ  เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน  เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อที่ได้รับ    เขียนจดหมายส่วนตัวและเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและโครงงานและมีมารยาทในการเขียน

          การฟัง การดู และการพูด  พูดสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู  เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่ฟังและดู พูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  ประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ  พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา  และมีมารยาทในการฟัง การดู  และการพูด

          หลักการใช้ภาษาไทย  อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย  สร้างคำในภาษาไทย  วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค  วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน  แต่งบทร้อยกรอง  จำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต

          วรรณคดีและวรรณกรรม  สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน  วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านพร้อมยกเหตุผลประกอบ  อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน  สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

 รหัสตัวชี้วัด

ท ๑.๑   ม.๑/๑,  ม.๑/๒,  ม.๑/๓,  ม.๑/๔,  ม.๑/๕,  ม.๑/๖,  ม.๑/๗,  ม.๑/๘,  ม.๑/๙

ท ๒.๑   ม.๑/๑,  ม.๑/๒,  ม.๑/๓,  ม.๑/๔,  ม.๑/๕,  ม.๑/๖,  ม.๑/๗,  ม.๑/๘,  ม.๑/๙

ท ๓.๑   ม.๑/๑,  ม.๑/๒,  ม.๑/๓,  ม.๑/๔,  ม.๑/๕,  ม.๑/๖

ท ๔.๑   ม.๑/๑,  ม.๑/๒,  ม.๑/๓,  ม.๑/๔,  ม.๑/๕,  ม.๑/๖

ท ๕.๑   ม.๑/๑,  ม.๑/๒,  ม.๑/๓,  ม.๑/๔,  ม.๑/๕

รวมทั้งหมด ๓๕ ตัวชี้วัด


ภาษาไทย ม.2
aroonrat pangjun

ภาษาไทย ม.2

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ภาษาไทย  ท๒๒๑๐๑                                                             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                               1.5 หน่วยกิต เวลา 60ชั่วโมง

                                                                  

       ฝึกทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด การวิเคราะห์และประเมินค่าวรรณคดีและวรรณกรรม โดยศึกษาเกี่ยวกับการอ่านออกเสียง การอ่านจับใจความ การอ่านตามความสนใจ ฝึกทักษะ  การคัดลายมือ การเขียนบรรยายและพรรณนา เขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์ เขียนย่อความ เขียนรายงาน  การเขียนจดหมายกิจธุระ การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือโต้แย้ง     การพูดสรุปความ พูดวิเคราะห์และวิจารณ์จากเรื่องที่ฟังและดู พูดในโอกาสต่างๆ พูดรายงานการศึกษาค้นคว้า และศึกษาลักษณะของประโยคในภาษาไทย การสร้างคำสมาส การใช้คำราชาศัพท์ การแต่งบทร้อยกรอง  ประเภทกลอนสุภาพ การรวบรวมและอธิบายความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย

       วิเคราะห์ ประเมินค่า และข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมาและสามัคคีเสวก ศิลาจารึกหลักที่ 1 บทละครเรื่อง รามเกียรติ์                 ตอน นารายณ์ปราบนนทก,กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง, โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า, ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

       โดยใช้กระบวนการอ่านเพื่อสร้างความรู้ความคิดนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต กระบวน
การเขียนเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการฟัง การดู และการพูด สามารถเลือกฟังและดู และ
พูดแสดงความรู้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติภาษาและหลักภาษาไทย
การเปลี่ยนแปลงของภาษา พลังภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมอย่าง
เห็นคุณค่านำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง รักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ และมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน
มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด

 

       ตัวชี้วัด

       ท ๑.๑     ม.๒/๑  ม.๒/๒  ม.๒/๓ ม.๒/๔   ม.๒/๕  ม.๒/๖ ม.๒/๗  ม.๒/๘  

       ท ๒.๑     ม.๒/๑  ม.๒/๒  ม.๒/๓ ม.๒/๔   ม.๒/๕  ม.๒/๖ ม.๒/๗  ม.๒/๘  

       ท ๓.๑     ม.๒/๑  ม.๒/๒  ม.๒/๓ ม.๒/๔   ม.๒/๕  ม.๒/๖

       ท ๔.๑     ม.๒/๑  ม.๒/๒  ม.๒/๓ ม.๒/๔   ม.๒/๕ 

       ท ๕.๑     ม.๒/๑  ม.๒/๒  ม.๒/๓ ม.๒/๔   ม.๒/๕

 

        รวม ๓๒ ตัวชี้วัด